ปีใหม่มีที่มาอย่างไร - ปีใหม่มีที่มาอย่างไร นิยาย ปีใหม่มีที่มาอย่างไร : Dek-D.com - Writer

    ปีใหม่มีที่มาอย่างไร

    ประวัติความเป็นมาของเทศกาลปีใหม่ Happy New year กว่าจะเป็นปีใหม่ แบบปัจจุบัน

    ผู้เข้าชมรวม

    521

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    2

    ผู้เข้าชมรวม


    521

    ความคิดเห็น


    0

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  28 ธ.ค. 51 / 12:47 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น
    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ





      ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่

                ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน

                การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก

                การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์

                ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป

                เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ 
                1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ 
                2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา 
                3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก 
                4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย
       

                กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่ 

                1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ 
                2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร 
                3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ

                วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น




      การทำบุญในวันขึ้นปีใหม่

                เมื่อใกล้ถึงเทศกาลปีใหม่ ประชาชนจะพากันเก็บกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับไฟและธงชาติตามสถานที่สำคัญ ๆ

                ครั้นถึงวันที่ 31 ธันวาคม ก็จะมีการทำบุญเลี้ยงพระ ไปวัด เพื่อประกอบกิจกุศลต่าง ๆ เช่น ฟังพระธรรมเทศนา ถือศีลปฏิบัติธรรม แต่บางคนก็แค่ทำบุญตักบาตร   ตอนกลางคืนบางแห่งอาจจัดเทศกาลกินเลี้ยงเป็นที่ครื้นเครงสนุกสนาน  เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

                เช้าวันที่ 1 มกราคม จะมีการทำบุญตักบาตร ไปท่องเที่ยวหรือเยี่ยมเยียนญาติผู้ใหญ่ผู้ที่เคารพนับถือ มีการมอบของขวัญและบัตรอวยพรให้แก่กัน

                สำหรับในต่างจังหวัด จะมีการทำบุญเลี้ยงพระที่วัด และอุทิศส่วนกุศลไปให้แก่ญาติที่ล่วงลับ กลางคืนมีการละเล่นพื้นบ้านหรือจัดมหรสพมาฉลอง


      กิจกรรมที่ควรปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่

                1. เก็บกวาดดูแลทำความสะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน

                2. ทำบุญตักบาตร กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ญาติและผู้มีพระคุณที่ล่วงลับไปแล้ว

                3. ไปวัดเพื่อทำบุญ ถือศีล ปฏิบัติธรรม หรือฟังพระธรรมเทศนา ฯลฯ เพื่อให้จิตใจสดชื่นแจ่มใสเบิกบาน ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่

                4. ตรวจสอบตัวเอง เกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ที่ได้ทำมาตลอดปี ว่ามีความเจริญก้าวหน้าสำเร็จลุล่วงไปได้แค่ไหน หากมีคั่งค้างก็ต้องเร่งขวนขวายปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องของตน ถ้าอยู่ในเกณฑ์ดีก็ให้ตั้งใจทำให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป

                5. หากมีเรื่องบาดหมางหรือขุ่นเคืองกับผู้ใด ในวันนี้ควรถือโอกาสให้อภัยซึ่งกันและกัน เริ่มสานความสัมพันธ์ให้กลับมาเริ่มต้นใหม่ด้วยดี




      หลากหลายความเชื่อวันปีใหม่

                ในทุกเทศกาลปีใหม่ที่เวียนมาถึงประชาชนหลากหลายเชื้าติต่างมีความเชื่อแตกต่างกันไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆในวันสำคัญวันนี้

                ชาวโรมันและชาวเยอรมันโบราณ ถือว่าวันขึ้นปีใหม่เป็นเวลาที่พวกเขาได้สลัดปีเก่าทิ้งไปแล้วรับเอาแต่สิ่งดีๆ ที่จะบังเกิดขึ้นในวันปีใหม่ไว้แทนที่ ส่วนชาวอิหร่าน มีความเชื่อว่าวันปีใหม่เป็นเวลาแห่งหารเกิดของสรรพสิ่งทั้งหลาย เป็นสมัยแห่งการฉลองชัยของสุริยเทพ ธรรมชาติ รวมไปถึงมวลมนุษยชาติ

                ชาวซูลู (ในทวีปแอฟริกา) ต่างก็มีประเพณีเกี่ยวกับวันปีใหม่นี้เช่นกัน ซึ่งเมื่อถึงวันนี้พวกเขาจะกินผลไม้ที่ออกผลเป็นครั้งแรก และพวกผู้ชายจะกลืนกินเนื้อวัวสดๆ ซึ่งเป็นเครื่องแสดงถึงความแข็งแรงและอุดมสมบูรณ์ในระหว่างปีที่จะมาถึง ขณะที่ชาวอังกฤษโบราณ เมื่อวันนี้มาถึงต่างก็พร้อมใจกันทำความสะอาดปล่องไฟเตรียมไว้ต้อนรับโชคลาภที่จะมาถึงในวันปีใหม่ โดยมีความเชื่อว่าจะลงมาทางปล่องไฟและจะคงอยู่ที่นั่นตลอดปี

                นอกจากนั้น ชาวญี่ปุ่นและชาวอินเดียนแดง ยังมีความเชื่อคล้ายๆกันอีกว่า จะเอาเสื้อผ้าเก่าๆไปทิ้งและจะสวมเสื้อผ้าชุดใหม่ อีกทั้งทำความสะอาดบ้านเรือน เพื่อเป็นสิริมงคล 

      ส่วนชาวลาตินอเมริกาจะไม่นิยมให้นาฬิกาเป็นของขวัญ เพราะหลีกเลี่ยงของขวัญที่เกี่ยวพันกับเลข 13 เป็นต้น

                สำหรับวันปีใหม่ของไทย มีความเชื่อมากมายและไม่ว่าจะเป็นการคิดถึงสิ่งดีๆ ทำสิ่งดีๆห้ามให้ของมีคมแก่กัน เพราะเชื่อว่าอาจเป็นลางร้ายก่อให้เกิดเรื่องไม่ดีขึ้นได้ หรือแม้แต่ห้ามพูดจาหยาบคาย หรือด่าทอกันในวันนี้









      ขอให้ทุกคนมีความสุขมากๆนะคะในเทศกาลปีใหม่ปีนี้

      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×